วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเครื่องที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ เช่น  เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน  พลังงานแสงสว่าง  พลังงานเสียง  
 พลังงานกล   และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆได้หลายรูปในเวลาเดียวกัน
ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน    
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ต้องการพลังงานไฟฟ้ามากกว่าเครื่องใช้ประเภทอื่น จึงมีอันตรายมากกว่า  เช่น เครื่องปิ้งชนมปัง กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า  เตารีด  เครื่องเป่าผม  หม้อหุงข้าว  เตาอบ  เป็นต้น
                         220  v 600  w                                                 220V 750W
                        220 V 1,000 W                                                      220V 850 W
                             220-250 V 900 W                                              220V 1,000 W
   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแสงสว่าง 
เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานความร้อนที่ไส้หลอด แล้วจึงเปลี่ยนพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานแสง เช่น หลอดไฟฟ้าชนิดต่างๆ   หลอดภาพในเครื่องรับโทรทัศน์  เป็นต้น

                                              220 V 18 W                         220 V 100 W

                                          220V 50 Hz  55W                        220 V 32 W

 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานเสียง  
ได้แก่  เครื่องรับวิทยุ   เครื่องบันทึกเสียง   เครื่องขยายเสียง
                                     220V  25W                            220V-240V 10W                        
220V 32W
   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานกล
เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เช่น   พัดลม  เครื่องดูดฝุ่น  เครื่องซักผ้า  เครื่องปรับอากาศ     ตู้เย็น   เครื่องปั่นน้ำผลไม้   เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เป็นต้น
                       220V 1,000 W                         220 V  45 W                   220-250 V 1,000 W                          220 V 150 W               220 V  190 W 
                220 V  3,300 W                                     220 V 60 W
ลักษณะเฉพาะทางไฟฟ้า
เป็นลักษณะที่ระบุไว้บนเครื่องไฟฟ้า  บอกเกี่ยวกับ  กำลังไฟฟ้า  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า   ความถี่  เป็นต้น  เช่น  กาต้มน้ำมีตัวเลขกำกับว่า 50 Hz  220 V  650W   หมายความว่า กาต้มน้ำนี้ใช้กับไฟฟ้าที่มีความถี่ 50 เฮิรตซ์  ความต่างศักย์ 220 โวลต์   ขณะใช้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 650 จูล ในเวลา 1 วินาที
หลอดไฟฟ้ามีตัวเลข 220 V  40W  หมายความว่า หลอดไฟฟ้าใช้กับไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์  220 โวลต์ ขณะหลอดทำงานจะใช้พลังงานไฟฟ้า 40 จูลในเวลา 1 วินาที

ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า

ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าและความปลอดภัยในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ควรรู้จัก
       พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานรูปอื่นได้ อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรามากมายล้วนแต่ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น
1.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ได้แก่ หลอดไฟ โคมไฟต่างๆ ฯลฯ
2.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ได้แก่ เตาไฟฟ้า เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องเป่าผม เตาอบ ฯลฯ
3.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์หมุน ได้แก่ พัดลม เครื่องซักผ้า เครื่องผสมอาหานไฟฟ้า ฯลฯ
4.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความเย็น ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
5.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
หน้าที่ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญๆ
1. เมนสวิตซ์( Main Switch) หรือสวิตซ์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับตัดต่อวงจรของสายเมน
เข้าออกอาคารกับสายภายในทั้งหมด
เป็นอุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์)์ ของการไฟฟ้าเข้ามาในบ้าน เมนสวิตซ์
ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร( Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน
( Overcurrent Protective Device)
หน้าที่ของเมนสวิตซ ์ คือ คอยควยคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินหรือ
ไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับ หรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร
2. เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตซ์อัตโนมัติ)
หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแส
ไฟฟ้าเกินและกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้นต้องไม่เกินขนาดพิกัดใน
การตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง( IC)
3. ฟิวส ์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งโดยจะตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อมี
กระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด
และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC)
ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์
4. เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน
( ELCB,GFCI,RCD,RCD,RCBO) หมายถึง สวิตซ์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินใน
ปริมาณมากกว่าค่าที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปรณ์กรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดินเพื่อ
ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด
กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น
5. สายดินเพื่อความปลอดภัย สายเขียว สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า สายดินเครื่องใช้ไฟฟ้า
( Equipment grounding Conductor หรือ Protective Conductor หรือ P.E.)
คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันคือ หมายถึง ตัวนำ หรือสายไฟฟ้าที่ต่อจากส่วนที่เป็นเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าซึ่งปกติส่วนที่ไม่มีไฟ
และมักมีการจับต้อง
ขณะใช้งานเพื่อให้เป็นเส้นทางให้กระแสไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปไปที่มาสัมผัสแล้วไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระไฟรั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวกเพื่อให้
เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติทำงาน
ตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดัวกล่าวมักจะเรียวกันสั้นๆว่า สายดิน
6. หลักดิน( Ground Rod) หมายถึง แท่งหรือโลหะที่ฝังอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่แพร่หรือ
กระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้
โดยสะดวกวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น ทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ( 5/18)
ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น
 
7. สายต่อหลักดิน( Grounding Electrode Conductor หรือ Earthing Conductor) คือ สายตัวที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดินซึ่งในที่นี้หมายถึงสายที่ต่อระหว่าง
หลักดินกับขั้วต่อสายศูนย์หรือ
ขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายดินในแผงสวิตซ์ประธาน(ตู้เมนสวิตซ์)เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีการต่อลงดิน
8. เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคารเป็นต้น
9. เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับทำ
ให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้
10. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพอ
สำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีการเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะเครื่องใช้
ไฟฟ้าประเภทนี้ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อลงดินมายังตู้
เมนสวิตซ์โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ
11. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 หมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวนส่วนที่มีไฟฟ้า
ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่าของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป
สัญญาลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2
คือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องต่อสายดิน
12. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิน

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ความหมายและความสำคัญของงานไฟฟ้า
   งานไฟฟ้า  หมายถึง  การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในการสร้างหรือผลิต  การซ่อมแซม การปรับปรุง การติดตั้งอุปกรณ์หรือ
  
วงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
   งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  ดังนี้
   1. งานไฟฟ้าใช้ในการสร้างเครื่องมือ  เครื่องใช้ต่าง ๆ  ที่ให้พลังงานความร้อน  พลังงานแสงสว่าง  พลังงานกล  ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง  เช่น  เครื่องทำน้ำอุ่น  เครื่องปรับอากาศ หลอดไส้  หลอดฟลูออเรสเซนต์  ลิฟต์  บันไดเลื่อน 
เป็นต้น 
   2. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบสื่อสาร  คมนาคม  ให้สะดวกเจริญก้าวหน้า  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  โทรศัพท์ 
รถไฟฟ้า  เป็นต้น
   3. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานไฟฟ้า
   ไฟฟ้า เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง  ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในวัตถุธาตุทุกชนิด  ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ที่เรียกว่า "อะตอม" แต่ละอะตอมจะประกอบด้วยโปรตอน  นิวตรอน  และอิเล็กตรอนอยู่มากมาย โดยที่โปรตอนกับนิวตรอนจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนที่นี้เรียกว่า "กระแสไฟฟ้า"  ซึ่งมีอยู่  ๒  ชนิด  คือ  ไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส  ปัจจุบันความก้าวหน้าทางไฟฟ้ามีมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานไฟฟ้า  โดยเฉพาะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก  โดยการนำมาเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับ มนุษย์  เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า  โทรทัศน์  ตู้เย็น  พัดลม และแสงไฟที่ให้ความสว่างในเวลากลางคืนแทนการใช้เทียนหรือ ตะเกียง  ระบบเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม  และระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า  เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจ  และสังคมเป็นอย่างมาก

 
 การแบ่งชนิดของไฟฟ้า
  
ในปัจจุบันได้มีการนำไฟฟ้ากระแสตรงมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย  ซึ่งไฟฟ้าสามารถเกิดขึนได้จากแหล่งกำเนิดหลาย ๆ แบบ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น  2  แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
   1) ไฟฟ้ากระแสตรง 
(Direct current หรือ D.C)  เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวกัน โดยตลอดระยะทางที่วงจรกระแสไฟฟ้าปิด  กระแสไฟฟ้าจะไหลจากชั้นบวกภายในแหล่งกำเนิด  ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านทานหรือโหลด  ผ่านตัวนำไฟฟ้า  แล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดขั้วลบ  วนเวียนไปในทางเดียวกันเช่นนี้ตลอดเวลา  ดังเช่น ถ่านไฟฉาย  ไดนาโม  เป็นต้น 

   คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
   1.  กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวตลอดเวลา
   2.  มีค่าแรงดัน  หรือ  แรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ
   3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์  หรือ แบตเตอรี่ได้

 
 ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง
  
1.  ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ
   2.  ใช้ในการทดลองสารเคมี
   3.  ใช้เชื่อมโลหะ หรือ ตัดเหล็ก
   4.  ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
   5.  ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่
   6.  ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
   7.  ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง  เช่น  ไฟฉาย
   2)  ไฟฟ้ากระแสสลับ  
(Allernating current  หรือ A.C.)  เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการไหลเวียนกลับมา  ทั้งขนาดของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไม่คงที่ จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคือ  กระแสไฟฟ้าจะไหลไปทางหนึ่งก่อนต่อมาจะไหลสวนกลับ  และก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก
   กระแสไฟฟ้าจะไหลจากแหล่งกำเนิดไปตามลูกศรเส้นหนัก  เริ่มจากศูนย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขีดสูงสุด  แล้วค่อย ๆ ลดลงมาที่ 0 อีก และจะไหลตามลูกศรเส้นประจุถึงขีดต่ำสุด  แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 0 อีก แล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลตามลูกศรเส้นหนักอีกเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป (กระแสไฟฟ้า ไหลจากศูนย์ขึ้นบนถึงขีดสูงแล้วไหลลงล่างถึงขีดต่ำสุดแล้วไหลขึ้นถึงศูนย์หนึ่งครั้ง  เท่ากับ 1 รอบ
(Cycle) 
ความถี่  หมายถึง  จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงภายใน  1 วินาที ในประเทศไทยนิยมใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่  50 เฮริตซ์  หรือ 50 รอบ ต่อ
1 วินาที
   คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ  คือ สามารถส่งไปที่ไกล ๆ ได้ดี กำลังไม่ตก และสามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้น  ต่ำลงตามความต้องการด้วยหม้อแปลง

  
ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ
  
1.  ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี
   2.  ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย
   3.  ใช้กับเครื่องไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมาก ๆ
   4.  ใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
   5.  ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด

ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานไฟฟ้า
   ในการปฏิบัติงานไฟฟ้าเบื้องต้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงาน ดังนี้
   1)  การต่อสายไฟฟ้า 
(Connect Wire)  การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการต่อสายแยกออกจากกัน  หรือต่อสายเข้าหากัน ต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า รอยต่อต้องพันเทปพันสายไฟฟ้าโดยรอบ และซ่อนอยู่ในที่มิดชิด การต่อสายไฟฟ้าภายในบ้านมีอยู่หลายแบบที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้น มีดังนี้
   1.1)  การต่อแบบหางเปีย นำสายที่ต้องการต่อปอกสายาวประมาณ  2.5  เซนติเมตร แล้วพันถักเหมือนหางเปียจนสุดที่ปลายสายปอก แล้วหักงอสายไฟฟ้า  แล้วพันด้วยเทปพันสายไฟฟ้าปิดรอยต่อให้เรียบร้อย ดังรูปที่ 1 และ 2
   1.2)  การต่อแบบต่อแยก ใช้ต่อเมื่อต้องการแยกใช้ไฟฟ้า จากสายเดิมโดยปอกสายเดิมตรงจุดต้องการต่อประมาณ ๒ เซนติเมตร  ปอกสายที่นำมาต่อยาว 3-4  เซนติเมตร พันเทปสายเดิมไปทางเดียวกันจนสุดรอยปอกสาย แล้วพันเทปด้วยเทปพันสายไฟฟ้าปิดรอยต่อให้เรียบร้อย  ดังรูปที่ 3 และ 4
   1.3)  การต่อแบบประสาน เป็นการต่อเพื่อรับแรงดึง ต่อเพิ่มความยาวของสายไฟฟ้า  โดยการปอกสายทั้ง ๒ เส้น ยาว ๔- ๕ เซนติเมตร วางทับกันพันปลายสายแต่ละข้างไปจนสุดแล้วพันทับด้วยเทปพันสายไฟฟ้า ปิดรอยต่อให้เรียบร้อย 
   1.4)  การต่อแบบฟิกซ์เจอร์  เป็นการต่อสายแข็งกับสายอ่อนเข้าด้วยกัน  เป็นการต่อแบบพันเกลียวโดยใช้สายแข็งเป็นสายแกน สายอ่อนดีเกลียวพันรอบ แล้วพันทับด้วยเทปพันสายไฟฟ้า ปิดรอยต่อให้เรียบร้อย
   1.5)  การต่อแบบลูกเต๋า  ปอกสายไฟฟ้าที่จะต่อประมาณ 4-8  มิลลิเมตร คลายสกรูที่ลูกเต๋า  แล้วเสียบสายไฟฟ้าเข้าไปในลูกเต๋า ขันสกรูให้แน่นไม่ต้องพันด้วยเทปพันสายไฟฟ้า
   2)  การต่อแผงควบคุมไฟฟ้า  คือ  แผงควบคุมการใช้ไฟฟ้าของอาคารต่าง ๆ ซึ่งจะมีตัวตัดไฟฟ้าที่เรียกว่า  สะพานไฟฟ้าหรือคัดเอาต์  แล้วต่อเข้าครอบฟิวส์ถ้วยตามจุดสายต่าง ๆ เพื่อควบคุมการใช้งาน  เช่น ชุดฟิวส์แสงสว่างชั้นล่าง  ชั้นบน  ชุดฟิวส์แสงสว่างสนามหญ้า  เป็นต้น เวลาเกิดปัญหาไฟดับหรือไฟช็อต  ก็จะเกิดเฉพาะจุเท่านั้น  จะไม่เกิดไฟฟ้าดับทั้งอาคาร
   ในปัจจุบันนิยมใช้เซฟทีสวิตซ์เป็นส่วนใหญ่  เพราะให้ความสะดวก  ต่อสายไฟฟ้าได้ง่าย และ ประหยัด ให้ความสวยงามและให้ความปลอดภัย ลักษณะการทำงานจะเหมือนกับคัดเอาต์ทุกประการ  คือ  ใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้า  และป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน
   3)  การต่อเต้ารับเต้าเสียบหรือปลั๊กตัวเมีย  ปลั๊กตัวผู้ ใช้เป็นอุปกรณ์ส่งต่อกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  มี ๒ ชนิด คือ แบบมีสายดิน และไม่มีสายดิน
   4)  การต่อสวิตซ์ไฟฟ้า สวิตซ์  เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเดินของกระแสไฟฟ้า ณ จุดต่าง ๆ ของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นหลายจุด หรือจุดเดียวก็ตาม ปกติสวิตซ์ 1 อัน กับไฟฟ้า 1 ตำแหน่ง เพื่อความสะดวกและ ประหยัดกระแสไฟฟ้า  การต่อสวิตซ์ไฟฟ้าต้องยกคัทเอาต์หรือปลดวงจรไฟฟ้า  เพื่อเป็นการตัดกระแสไฟฟ้าออกจากวงจร ตำแหน่งของสวิตซ์ควรอยู่สูงพอสมควร ปลอดภัยจากความชื้น  ใช้งานได้สะดวก มีหลายแบบหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม
   5)  การต่อวงจรหลอดไส้  เป็นการต่อวงจรที่ง่าย  มีวิธีการต่อวงจร  2 แบบ คือ
   ๕.๑)  แบบหลอดไส้ชนิดเขี้ยว  จะต้องต่อสายเส้นที่มีไฟฟ้าผ่านสวิตซ์  แต่ที่ขั้วหลอดสามารถต่อสลับกันได้
   ๕.๒)  แบบหลอดไส้ชนิดเกลียว  ควรให้สายไฟฟ้าต่อผ่านสวิตซ์กับขั้วที่อยู่ก้นหลอด  ส่วนที่เป็นเกลียวของขั้วหลอดต่อกับสายนิวทรัส เพื่อลดอันตรายในการใช้งาน
   6)  การต่อวงจรหลอกฟลูออเรสเซนต์  การต่อวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ถูกต้องต่อสายไฟฟ้าผ่านสวิตซ์  และผ่านไปยังบัลลาสต์  และต่อไปยังไส้หลอดที่แสดงในวงจร  ถ้าต่อสวิตซ์ที่สายนิวทรัสเมื่อปิดสวิตซ์แล้วหลอดยังเรืองแสงอยู่ เหนได้ชัดตอนกลางคืนเมื่อปิดสวิตซ์แล้ว